About Bualuang Services i-Trading TFEX Online iFIS Knowledge Management Investor Relations Contact Us
 
     
รู้จักกับ Single Stock Futures

Single Stock Futures ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ สัญญาฟิวเจอร์ส และหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น เมื่อทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจึงกลายเป็น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีหุ้นสามัญหนึ่งหุ้นเป็นสินค้าอ้างอิง


ลักษณะและข้อกำหนดของ Single Stock Futures

สำหรับ Single Stock Futures นั้น บมจ. ตลาดอนุพันธ์ได้กำหนดลักษณะและเงื่อนไขดังนี้

สินค้าอ้างอิง
ปัจจุบัน บมจ. ตลาดอนุพันธ์ได้ประกาศให้ Single Stock Futures นั้นมีหุ้นสามัญอ้างอิงของบริษัทต่าง ๆ ดังต่อ ไปนี้

ชื่อย่อหลักทรัพย์

ชื่อเต็มบริษัท

วันซื้อขายวันแรก

ADVANC

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

24 พ.ย. 2551

BANPU

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

BAY

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

BBL

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

BTS

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

CPALL

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

CPF

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

DTAC

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

HMPRO

บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

IRPC

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

ITD

บริษัท อิตาเลียน ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

IVL

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

KBANK

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

KTB

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

LH

บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

MINT

บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

PS

PS : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

PTT

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

24 พ.ย. 2551

PTTEP

ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

24 พ.ย. 2551

QH

บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

SCB

ธนาคารไทยพาณิชย์ กัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

SCC

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

STA

บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

TCAP

บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

THAI

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

TMB

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

TOP

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

TTA

บริษัท โทรีเซน ไทย เอเยนต์ซีส์ (มหาชน)

22 มิ.ย. 2552

TUF

บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

TRUE

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

21 มี.ค. 2554

ขนาดสัญญา
เมื่อสัญญา Single Stock Futures เริ่มซื้อขายในวันแรก สัญญา Single Stock Futures นั้น ๆ จะมีขนาดสัญญาเท่ากับ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตามหลังจากที่มี Corporate Action เกิดขึ้น ขนาดของสัญญาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ นักลงทุนจึงต้องพึงระวังไว้ว่าขนาดสัญญาสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลังจากมี Corporate Action

เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุมี 4 เดือนได้แก่ มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส ทำให้ ตามปกติ สัญญา Single Stock Futures ที่มีการซื้อขายนั้นจะมีทั้งหมด 4 สัญญา เช่น ถ้าวันนี้เป็นวันที่ 24 พ.ย. 2551 สัญญา Single Stock Futures ที่มีการซื้อขายนั้นจะมีทั้งหมด 4 สัญญา และมีเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุดังนี้

  • ธันวาคม 2551
  • มีนาคม 2552
  • มิถุนายน 2552
  • กันยายน 2552

อย่างไรก็ตาม ณ วันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาใกล้ที่สุด ตลาดอนุพันธ์จะนำสัญญาถัดไปเข้ามาซื้อขายทันที เช่น วันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาที่สิ้นสุดอายุเดือน ธันวาคม 2551 ตลาดอนุพันธ์จะนำสัญญาที่สิ้นสุดอายุเดือน ธันวาคม 2552 เข้ามาซื้อขายทันทีี

ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำเท่ากับ 0.01 บาท หมายความว่าราคาของสัญญา Single Stock Futures ที่มีการซื้อขายกันนั้นจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายโดยระบุราคาได้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 0.01 บาท

  • ตัวอย่างของราคาที่สามารถระบุได้มีดังนี้ 50 บาท 50.01 บาท 100.01 บาท และ 100.02 บาท เป็นต้น

ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุดแต่ละวัน
ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ราคาสูงสุดในวันทำการซื้อขาย (Ceiling Price) ไม่เกิน +30% และราคาต่ำสุด (Floor Price) ไม่ต่ำกว่า –30% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้าเท่ากับ 50 บาท ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้จะไม่เกิน 65 บาท และราคาต่ำสุดที่สามารถซื้อขายได้จะไม่ต่ำกว่า 35 บาท

เวลาซื้อขาย
มี 4 ช่วงเวลาดังนี้

ลำดับที่

ชื่อช่วงเวลา

ช่วงเวลา

1

Pre-open

9:15 – 9:45

2

Morning session

9:45 – 12:30

3

Pre-open

14:00 – 14:30

4

Afternoon session

14:30 – 16:55

วันซื้อขายวันสุดท้าย
วันซื้อขายวันสุดท้ายของทุกสัญญานั้นเป็นวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยตัวอย่างของวันซื้อขายวันสุดท้ายมีดังนี้

เดือนและ ค.ศ. ที่สัญญาหมดอายุ

วันซื้อขายวันสุดท้าย

มิถุนายน 2009

29 มิ.ย. 2552

กันยายน 2009

29 ก.ย. 2552

ธันวาคม 2009

29 ธ.ค. 2552

มีนาคม 2510

30 มี.ค. 2553

มิถุนายน 2510

29 มิ.ย. 2553


นอกจากนั้น ในวันซื้อขายสุดท้ายของแต่ละสัญญา สัญญานั้นจะมีการซื้อขายสิ้นสุดในเวลา 16.30 น.

ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายสุดท้าย
ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ใช้ค่าเฉลี่ยถึงทศนิยมที่ 2 ตำแหน่งของราคาสินค้าอ้างอิง ในวันสุดท้ายของการซื้อขายในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และราคาปิดของสินค้าอ้างอิงในวันนั้น (ไม่มีการถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการซื้อขาย)

วิธีส่งมอบ / ชำระราคา
ในการซื้อขาย Single Stock Futures เป็นการส่งมอบเฉพาะกำไร/ขาดทุน จึงมีการชำระราคาเป็นเงินสดเท่านั้น (Cash Settlement)


อักษรย่อและสัญลักษณ์

Single Order
การใช้อักษรย่อสำหรับสัญญาฟิวเจอร์สแบบ Single Order ประกอบด้วย 4 ส่วนดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 3

ส่วนที่ 4

ABCDEF

Z

09

X


ส่วนที่ 1 : สินค้าอ้างอิง ใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนอักษรหรือตัวเลขรวมกันตั้งแต่ 2 ตัวถึง 6 ตัว

ส่วนที่ 2 : เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ใช้อักษรย่อหนึ่งตัวแทนชื่อเดือนดังนี้

เดือนที่สัญญาสิ้นสุด

อักษรย่อ

มีนาคม

H

มิถุนายน

M

กันยายน

U

ธันวาคม

Z

ส่วนที่ 3 : ปีที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ใช้ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายตามปี ค.ศ. เช่น ค.ศ. 2008 ใช้ตัวย่อเป็น 08 และ ค.ศ. 2009 ใช้ตัวย่อเป็น 09 เป็นต้น

ส่วนที่ 4 : การปรับเงื่อนไขสัญญา ในกรณีที่มีการปรับเงื่อนไขสัญญา โดยอาจจะเกิดจาก Corporate Action ต่าง ๆ และมีผลให้มีการปรับเงื่อนไขในสัญญาบางอย่างเช่น ชื่อสินค้าอ้างอิง ขนาดสัญญา ราคาของสัญญา หรือจำนวนสัญญา เป็นต้น ตลาดอนุพันธ์จะใช้ตัวอักษร 1 ตัวเพื่อบ่งบอกว่ามีการปรับเงื่อนไขสัญญาเกิดขึ้นดังนี้

  • X แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 1
  • Y แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 2
  • Z แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 3

อย่างอักษรย่อสำหรับสัญญา Single Stock Futures แบบ Single Order

Combination Order
การใช้อักษรย่อสำหรับสัญญาฟิวเจอร์สแบบ Combination Order ประกอบด้วย 7 ส่วนดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 3

ส่วนที่ 4

ส่วนที่ 5

ส่วนที่ 6

ส่วนที่ 7

ABCDEF

U

09

X

Z

09

X

ส่วนที่ 1 : สินค้าอ้างอิง ใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนอักษรหรือตัวเลขรวมกันตั้งแต่ 2 ตัวถึง 6 ตัว

ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 5 : เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ใช้อักษรย่อหนึ่งตัวแทนชื่อเดือนดังนี้

เดือนที่สัญญาสิ้นสุด

อักษรย่อ

มีนาคม

H

มิถุนายน

M

กันยายน

U

ธันวาคม

Z

ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 6 : ปีที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ใช้ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายตามปี ค.ศ. เช่น ค.ศ. 2008 ใช้ตัวย่อเป็น 08 และ ค.ศ. 2009 ใช้ตัวย่อเป็น 09 เป็นต้น

ส่วนที่ 4 และส่วนที่ 7 : การปรับเงื่อนไขสัญญา ในกรณีที่มีการปรับเงื่อนไขสัญญา โดยอาจจะเกิดจาก Corporate Action และมีผลให้มีการปรับเงื่อนไขในสัญญาบางอย่างเช่น ชื่อสินค้าอ้างอิง ขนาดสัญญา ราคาของสัญญา หรือจำนวนสัญญา เป็นต้น ตลาดอนุพันธ์จะใช้ตัวอักษร 1 ตัวเพื่อบ่งบอกว่ามีการปรับเงื่อนไขสัญญาเกิดขึ้นดังนี้

  • X แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 1
  • Y แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 2
  • Z แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 3

ตัวอย่างการซื้อขายสัญญาด้วย Combination Order

  1. ในกรณีที่นักลงทุนส่งคำสั่ง ซื้อ PTTU09Z09 ที่ราคา 1 บาท หมายความว่า นักลงทุนต้องการซื้อ PTTZ09 และขาย PTTU09 พร้อมกัน โดยราคาของ PTTZ09 ลบด้วย ราคาของ PTTU09 ต้องไม่สูงกว่า 1 บาท
  2. ในกรณีที่นักลงทุนส่งคำสั่ง ขาย PTTU09XZ09X ที่ราคา 2 บาท หมายความว่า นักลงทุนต้องการขาย PTTZ09X และซื้อ PTTU09X พร้อมกัน โดยราคาของ PTTZ09X ลบด้วย ราคาของ PTTU09X ต้องไม่ต่ำกว่า 2 บาท

ตัวอย่างอักษรย่อสำหรับสัญญา Single Stock Futures แบบ Combination Order

PTTH09M09

PTTEPH09M09

ADVANCH09M09

PTTH09U09

PTTEPH09U09

ADVANCH09U09

PTTH09Z09

PTTEPH09Z09

ADVANCH09Z09

PTTM09U09

PTTEPM09U09

ADVANCM09U09

PTTM09Z09

PTTEPM09Z09

ADVANCM09Z09

PTTU09Z09

PTTEPU09Z09

ADVANCU09Z09


ผลของ Corporate Action

Corporate Action คืออะไร
Corporate Action หมายถึง เหตุการณ์ที่กระทำโดยบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนฯนั้น เช่น Stock Split, Reverse Stock Split, Cash Dividend, Stock Dividend (Bonus Issue), Merger, Name Change, Spin-off, และ Warrant Issue เป็นต้น

บ่อยครั้ง Corporate Action ทำให้ มีการเปลี่ยนแปลงของราคาพาร์ด้วย โดยมีตัวอย่างดังนี้

ไม่มีผลกระทบต่อราคาพาร์

มีผลกระทบต่อราคาพาร์

– Name Change

– Cash Dividend

– Extraordinary Cash Dividend

– Stock Split

– Reverse Stock Split

– Stock Dividend

– Right Issue

หลักการปรับเงื่อนไขสัญญา
เนื่องจากสัญญา Single Stock Futures นั้นมีหุ้นเป็นสินค้าอ้างอิง ทำให้เมื่อบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มีหุ้นเป็นสินค้าอ้างอิงนั้นมี Corporate Action เกิดขึ้น ตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชีจะต้องมีการปรับเงื่อนไขของสัญญาที่ได้รับผลกระทบเพื่อลดผลกระทบหรือให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดแก่นักลงทุน

อย่างไรก็ตาม Corporate Action ก็มีอยู่หลายประเภท แต่มีบางประเภทที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของสัญญา เช่น การจ่ายเงินปันผลปกติ (Ordinary Cash Dividend) เป็นต้น

ตลาดอนุพันธ์สามารถเลือกดำเนินการปรับเงื่อนไขสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกัน ดังนี้

  • รหัสของสัญญา
  • ราคาของสัญญาฟิวเจอร์ส (ต้นทุนใหม่ ณ วัน Ex-Date)
  • ขนาดของสัญญา (Contract Size)
  • จำนวนของสัญญาที่เปิดอยู่ หรือ ฐานะคงค้าง (Open Position)
  • การชำระเป็นเงินสด (รับ/จ่าย)

วิธีการปรับเงื่อนไขสัญญา
การปรับเงื่อนไขสัญญาจึงแบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่

  1. มีวิธีการปรับเงื่อนไขแบบมาตรฐาน
    ปัจจุบัน ตลาดอนุพันธ์กำหนดสูตรมาตรฐานเป็นแนวทางการปรับเงื่อนไขสำหรับกรณีหลัก ๆ ดังนี้
    • กรณีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Stock Split หรือ Reversed Stock Split)
    • กรณีจ่ายปันผลเป็นหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Bonus Issue หรือ Stock Dividend)
    • กรณีจ่ายเงินปันผลพิเศษ (Extraordinary Cash Dividend)
    • กรณีเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมจองซื้อหุ้นใหม่ (Right Offering หรือ Right Issue)
  2. ไม่มีวิธีการปรับเงื่อนไขแบบมาตรฐาน
    เมื่อเกิด Corporate Action กรณีอื่น ๆ ที่ไม่มีวิธีการปรับเงื่อนไขแบบมาตรฐาน ตลาดอนุพันธ์จะเป็นพิจารณาว่า:
    • Corporate Action ใดบ้างที่เข้าข่ายจะต้องปรับหรือไม่ต้องปรับเงื่อนไขสัญญา
    • วิธีที่จะใช้ในการปรับเงื่อนไขสัญญา (ถ้ามีการปรับเงื่อนไขสัญญา)

นอกจากนั้น ตลาดอนุพันธ์โดยความเห็นชอบของผู้จัดการอาจพิจารณาปรับเงื่อนไขสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแตกต่างไปจากวิธีที่เสนอได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ในกรณีที่เห็นว่ากรณีที่พิจารณานั้นมีรายละเอียดและมีพื้นฐานที่แตกต่างจากลักษณะทั่วไป

การปรับเงื่อนไขสัญญาแบบมาตรฐาน
การปรับเงื่อนไขสัญญาแบบมาตรฐานทั้งสี่กรณีที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นจะมีการปรับเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. รหัสของสัญญา
    เงื่อนไขในสัญญาบางอย่างเช่น ชื่อสินค้าอ้างอิง ขนาดสัญญา ราคาของสัญญา หรือจำนวนสัญญา เป็นต้น ตลาดอนุพันธ์จะเพิ่มตัวอักษร 1 ตัวหลังชื่อสัญญาของ Single Stock Futures เพื่อบ่งบอกว่ามีการปรับเงื่อนไขสัญญาเกิดขึ้นดังนี้
    • X แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 1
    • Y แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 2
    • Z แทนการปรับเงื่อนไขสัญญาครั้งที่ 3
  2. ราคาของสัญญาฟิวเจอร์ส (ต้นทุนใหม่ ณ วัน Ex-Date)
    • ราคาของสัญญาฟิวเจอร์สใหม่ = ราคาของสัญญาฟิวเจอร์สเก่า x F
  3. การปรับขนาดของสัญญา (Contract Size)
    • ขนาดของสัญญาใหม่ = ขนาดของสัญญาเก่า / F

โดย F คือ Adjustment Factor ซึ่งมีวิธีคำนวณขึ้นกับกรณีของ Corporate Action อันได้แก่

  1. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Stock Split หรือ Reversed Stock Split)
    บริษัท ABC เปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์) ทำให้จำนวนหุ้นเดิม X หุ้นเปลี่ยนแปลงเป็น Y หุ้น
    • ถ้า Y > X เรียกว่า Stock Split
    • ถ้า Y < X เรียกว่า Reverse Stock Split
  2. จ่ายปันผลเป็นหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Bonus Issue หรือ Stock Dividend)
    บริษัท ABC ให้หุ้นปันผลแก่ผู้ถือให้เดิมในอัตรา B หุ้นเดิม ต่อ A หุ้นใหม่

     
  3. กรณีจ่ายเงินปันผลพิเศษ (Extraordinary Cash Dividend)
    บริษัท ABC จ่ายเงินปันผลพิเศษจำนวน D บาทต่อหุ้น (S = ราคาปิดของหุ้นอ้างอิง ณ 1 วันก่อน Ex-Date)

     
  4. กรณีเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมจองซื้อหุ้นใหม่ (Right Offering หรือ Right Issue)
    บริษัท ABC ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามัญในอัตรา B หุ้นเดิม ต่อ A หุ้นใหม่ ที่ราคาหุ้นละ C บาท (S = ราคา
     

ตัวอย่างการคำนวณการปรับเงื่อนไขสัญญาแบบมาตรฐาน

กรณี Stock Split
บริษัท PTTEP เปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์) จากหุ้นละ 5 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท (Split 1 หุ้นเดิมเป็น 5 หุ้นใหม่)

ข้อมูลของสัญญา ณ 1 วัน ก่อน Ex-date

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

PTTEPH09

86

1,000

2,500

PTTEPM09

87

1,000

1,500

PTTEPU09

88

1,000

120

PTTEPZ09

89

1,000

30

สามารถคำนวณ Adjustment Factor (F) ได้ดังนี้

  

 
ข้อมูลของสัญญา ณ วัน Ex-date จะเปลี่ยนเป็น

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

PTTEPH09X

86 x 0.2 = 17.2

1,000 / 0.2 = 5,000

2,500

PTTEPM09X

87 x 0.2 = 17.4

1,000 / 0.2 = 5,000

1,500

PTTEPU09X

88 x 0.2 = 17.6

1,000 / 0.2 = 5,000

120

PTTEPZ09X

89 x 0.2 = 17.8

1,000 / 0.2 = 5,000

30

กรณี Bonus Issue หรือ Stock Dividend
บริษัท PTT ประกาศให้หุ้นปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่

ข้อมูลของสัญญา ณ 1 วัน ก่อน Ex-date

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

PTTH09

155

1,000

2,000

PTTM09

156

1,000

1,000

PTTU09

157

1,000

100

PTTZ09

158

1,000

20

สามารถคำนวณ Adjustment Factor (F) ได้ดังนี้

  


ข้อมูลของสัญญา ณ วัน
Ex-date จะเปลี่ยนเป็น

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

PTTH09X

155 x 0.8 = 124

1,000 / 0.8 = 1,250

2,000

PTTM09X

156 x 0.8 = 124.8

1,000 / 0.8 = 1,250

1,000

PTTU09X

157 x 0.8 = 125.6

1,000 / 0.8 = 1,250

100

PTTZ09X

158 x 0.8 = 126.4

1,000 / 0.8 = 1,250

20

กรณี Extraordinary Cash Dividend
บริษัท ABC ประกาศจ่ายเงินปันผลพิเศษเท่ากับ 5 บาท โดยราคาปิด ABC ณ 1 วัน ก่อน Ex-Date เท่ากับ 50 บาท

ข้อมูลของสัญญา ณ 1 วัน ก่อน Ex-date

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

ABCH09

51

1,000

3,000

ABCM09

51.5

1,000

1,200

ABCU09

52

1,000

400

ABCZ09

52.5

1,000

50

สามารถคำนวณ Adjustment Factor (F) ได้ดังนี้

 

 

 ข้อมูลของสัญญา ณ วัน Ex-date จะเปลี่ยนเป็น

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

ABCH09X

51 x 0.9 = 45.9

1,000 / 0.9 = 1,111

3,000

ABCM09X

51.5 x 0.9 = 46.35

1,000 / 0.9 = 1,111

1,200

ABCU09X

52 x 0.9 = 46.8

1,000 / 0.9 = 1,111

400

ABCZ09X

52.5 x 0.9 = 47.25

1,000 / 0.9 = 1,111

50

กรณี Right Offering หรือ Right Issue
บริษัท DEF ประกาศให้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 35 บาท และราคาปิดของหุ้น DEF ก่อนวัน Ex-Date 1 วันเท่ากับ 50 บาท

ข้อมูลของสัญญา ณ 1 วัน ก่อน Ex-date

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

DEFH09

50

1,000

3,500

DEFM09

50.5

1,000

1,400

DEFU09

51

1,000

600

DEFZ09

52

1,000

70

สามารถคำนวณ Adjustment Factor (F) ได้ดังนี้

 

 

ข้อมูลของสัญญา ณ วัน Ex-date จะเปลี่ยนเป็น

สัญญา

ราคาของสัญญา

ขนาดของสัญญา

ฐานะคงค้าง

DEFH09X

50 x 0.9 = 45

1,000 / 0.9 = 1,111

3,500

DEFM09X

50.5 x 0.9 = 45.45

1,000 / 0.9 = 1,111

1,400

DEFU09X

51 x 0.9 = 45.9

1,000 / 0.9 = 1,111

600

DEFZ09X

52 x 0.9 = 46.8

1,000 / 0.9 = 1,111

70


การหยุดการซื้อขาย (Circuit Breaker)

ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ราคาสูงสุดในวันทำการซื้อขาย (Ceiling Price) ไม่เกิน +30% และราคาต่ำสุด (Floor Price) ไม่ต่ำกว่า –30% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า
 
อย่างไรก็ตาม ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้มี Circuit Breaker ซึ่งอ้างอิงกับ Circuit Breaker ของตลาดหลักทรัพย์ โดยถ้าตลาดหลักทรัพย์หยุดการซื้อขายอันเนื่องมาจาก

  1. ราคาของดัชนี SET ตกลงถึง 10% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า
  2. ราคาของดัชนี SET ตกลงถึง 20% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า
  3. ราคาของดัชนี SET ตกลงถึง 30% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า

ตลาดอนุพันธ์จะหยุดการซื้อขายด้วยเช่นกัน

กรณี Combination order ตลาดอนุพันธ์กำหนดราคาสูงสุดต่ำสุดในแต่ละวันโดยใช้ Daily Settlement Price ล่าสุดของเดือนไกล ลบด้วยเดือนใกล้ (Far - Near) +10 บาท เป็นราคาสูงสุด และ –10 บาท เป็นราคาต่ำสุดของ series คู่นั้นๆ

นอกจากนั้น ถ้าหุ้นสามัญซึ่งเป็นสินค้าอ้างอิงของ Single Stock Futures ถูกหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (Halted หรือ Suspended) ในตลาดสินค้าอ้างอิง ตลาดอนุพันธ์จะหยุดการซื้อขายสัญญา Single Stock Futures ของสินค้าอ้างอิงที่ถูกหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (Halted หรือ Suspended) ด้วย


การถือครองฐานะจนสิ้นสุดอายุสัญญา

สัญญา Single Stock Futures ที่ถูกถือครองจนครบอายุจะถูก Mark-to-Market ณ สิ้นวันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญารุ่นนั้นๆเป็นการชำระราคาครั้งสุดท้าย นักลงทุนผู้ถือครองจะได้ส่วนต่างระหว่างต้นทุนสุดท้ายที่ถืออยู่กับราคาเพื่อการชำระราคาครั้งสุดท้าย (Final Settlement Price) ถือเป็นการปิดฐานะสัญญาไปโดยอัตโนมัติ

นักลงทุนมีภาระในการชำระค่านายหน้าซื้อขายจากการชำระราคาครั้งสุดท้ายนี้ด้วย


จำนวนการถือครองสูงสุด (Speculative Position Limit)

สำหรับหุ้นอ้างอิงแต่ละหุ้น นักลงทุนห้ามมีฐานะสุทธิในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Single Stock Futures ในเดือนในเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันเกินกว่า 20,000 สัญญา หรือจำนวนที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศกำหนด ยกเว้นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากตลาดอนุพันธ์ให้ถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าว

โดยตลาดอนุพันธ์กำหนดให้จำนวนการถือครองสูงสุดนี้เท่ากับ 5,000 สัญญาก่อนในช่วงแรก (ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2551 ถึง 31 มี.ค. 2552)


ระดับต้องรายงาน (Reportable Limit)

สำนักงาน กลต. และ ตลาดอนุพันธ์ กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานรายชื่อของนักลงทุนที่ถือครองฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสุทธิใน Single Stock Futures ที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นหุ้นสามัญใดหุ้นสามัญหนึ่งที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันตั้งแต่ 500 สัญญาขึ้นไป อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังสามารถเพิ่มการถือครองได้จนไม่เกินระดับวงเงินอนุมัติ หรือ จำนวนการถือครองสูงสุด (Speculative Position Limit) ตามประกาศของตลาดอนุพันธ์


กลยุทธ์ซื้อขาย

การเก็งกำไรทิศทาง
Single Stock Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรได้ทั้งในภาวะที่หุ้นขึ้นและในภาวะที่หุ้นลง เพราะ Single Stock Futures นั้นไม่มีการส่งมอบจริงระหว่างคู่สัญญา แต่ใช้วิธีชำระราคาเป็นเงินสด ซึ่งเป็นกระบวนการจ่ายหรือรับเงินตามกำไรขาดทุนที่เกิดจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับราคาที่ใช้ชำระราคา อันเป็นผลให้นักลงทุนสามารถทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

  1. “ซื้อก่อน ขายทีหลัง” เพื่อใช้เก็งกำไรในภาวะหุ้นขึ้น
  2. “ขายก่อน ซื้อคืนทีหลัง” เพื่อใช้เก็งกำไรในภาวะหุ้นลง

เมื่อเปรียบเทียบการซื้อขาย Single Stock Futures กับการซื้อขายหุ้นอ้างอิงโดยตรง เราจะพบความเหมือนและความแตกต่างดังนี้

 

ซื้อขายหุ้น

ซื้อขาย Single Stock Futures

ซื้อก่อน ขายทีหลัง

ทำได้ทันที ทำได้ทันที

ขายก่อน ซื้อคืนทีหลัง

ต้องยืมหุ้นก่อนแล้ว Short Sell ทำได้ทันที

ค่านายหน้าสุทธิ

ปกติสูงกว่า ปกติต่ำกว่า

ปริมาณซื้อขายขั้นต่ำ

100 หุ้น 1 สัญญา (1,000 หุ้น ต่อ สัญญา)

เงินปันผลปกติ

  • ผู้ซื้อได้รับเงินจริง
  • ผู้ยืมหุ้นมา Short Sell ต้องชดใช้เงินปันผลให้กับผู้ให้ยืมหุ้น
  • ผู้ซื้อไม่ได้รับ
  • ผู้ขายไม่ต้องจ่าย

 

Corporate Action อื่น ๆ

เป็นไปตามปกติ อาจจะมีการปรับเงื่อนไขสัญญา

การชำระราคา

ส่งมอบจริง ชำระกำไร/ขาดทุนเป็นเงินสด

กำไร/ขาดทุน

  • ผู้ซื้อรับรู้เมื่อขาย
  • ผู้ขายรับรู้เมื่อซื้อคืน
  • ผู้ซื้อรับรู้ทุกสิ้นวัน
  • ผู้ขายรับรู้ทุกสิ้นวัน

การวางหลักประกัน

  • ไม่มีในบัญชี Cash ATS
  • ไม่มีในบัญชี Cash Balance
  • มีในบัญชี Credit Balance
มีการคิดหลักประกันด้วยระบบ SPAN นักลงทุนต้องวางหลักประกันก่อนส่งคำสั่งซื้อขาย

อัตราหลักประกันขั้นต้น

(Initial Margin)

50% - 100% ประมาณ 10% - 20%

กลยุทธ์ซื้อขายส่วนต่างระหว่างฟิวเจอร์สต่างประเภทกัน
นอกเหนือจากการซื้อขายเพิ่อเก็งกำไรบนทิศทางของหุ้นอ้างอิงแล้ว นักลงทุนยังสามารถทำกลยุทธ์อื่นที่ใช้สัญญาฟิวเจอร์ส 2 สัญญาพร้อมกันได้ โดยกลยุทธ์ที่นิยมมี 3 กลยุทธ์คือ

1. กลยุทธ์ Calendar Spread
องค์ประกอบของกลยุทธ์

กลยุทธ์ Calendar Spread หรือที่อาจจะรู้จักกันในชื่อ กลยุทธ์ Inter-Month Spread เป็นกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย

  1. การซื้อ สัญญาฟิวเจอร์ส 1 สัญญา
  2. การขาย สัญญาฟิวเจอร์ส 1 สัญญา (สินค้าอ้างอิงเดียวกัน แต่เดือนหมดอายุไม่ตรงกัน)

ตัวอย่างเช่น

  1. ซื้อ PTTU08 และ ขาย PTTZ08                              (ซื้อใกล้ ขายไกล)
  2. ขาย ADVANCM09 และ ซื้อ ADVANCU09                 (ซื้อไกล ขายใกล้)

วัตถุประสงค์ในการใช้กลยุทธ์

  1. นักลงทุนมีฐานะในสัญญาซึ่งไม่มีสภาพคล่องมากพอ แต่ต้องการปิดฐานะ

    ตัวอย่างเช่น สมมุติ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 นาย ก มีสถานะซื้อในสัญญา PTTZ09 และตลาดหุ้นได้ปรับตัวลงมามากแล้ว ทำให้ต้องการปิดสถานะ แต่ทว่าสัญญา PTTZ09 เป็นสัญญาที่ไกลที่สุดทำให้ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง

    ดังนั้น นักลงทุนควรขาย PTTH09 หรือ PTTM09 ในจำนวนเท่ากันเพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อน (หยุดขาดทุน) และค่อยปิดสัญญาทั้งสองภายหลังเมื่อมีสภาพคล่องเพียงพอ

  2. นักลงทุนมีฐานะในสัญญาหนึ่งต้องการปิดฐานะ แต่มีสัญญาอื่นที่มีราคาดีกว่ามาก

    ตัวอย่างเช่น สมมุติ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2552 นาย ก มีสถานะซื้อในสัญญา ADVANCM09 และต้องการปิดสถานะเพราะราคาปรับตัวขึ้นมาสูงมากแล้ว ทว่า สัญญา ADVANCU09 มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ ADVANCM09

    ดังนั้น นักลงทุนควรขาย ADVANCU09 ในจำนวนเท่ากันเพื่อป้องกันความเสี่ยง ก่อน (ล็อคกำไร) และค่อยปิดสัญญาทั้งสองภายหลังเมื่อราคาของ ADVANCM09 เพิ่มขึ้นเทียบกับ ADVANCU09

  3. เก็งกำไรส่วนต่างของราคาโดยตรง

    ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน ผลต่างของราคา (PTTEPZ09 –  PTTEPU09) เท่ากับ 2 บาท แต่นักลงทุนคาดว่า ผลต่างของราคา (PTTEPZ09 –  PTTEPU09) จะลดลง

    ดังนั้น นักลงทุนจึงส่งคำสั่งขาย PTTEPU09Z09 ที่ราคา 2 บาท และค่อยปิดสัญญาทั้งสองภายหลังเมื่อผลต่างของราคา (PTTEPZ09 –  PTTEPU09) ลดลงโดยการส่งคำสั่งซื้อ PTTEPU09Z09

ข้อควรทราบ

  1. การซื้อขายของกลยุทธ์นี้คือ ต้นทุนไป-กลับ จะสูงกว่าต้นทุนของการซื้อขายเก็งกำไรทิศทางปกติประมาณ 2 เท่า
  2. กลยุทธ์ Calendar Spread สามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วย Combination Order ได้

2. กลยุทธ์ Inter-Commodity Spread
องค์ประกอบของกลยุทธ์
กลยุทธ์ Inter-Commodity Spread เป็นกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย

  1. การซื้อ สัญญาฟิวเจอร์ส X สัญญา
  2. การขาย สัญญาฟิวเจอร์ส Y สัญญา (สินค้าอ้างอิงไม่ตรงกัน แต่มีประเภท Market เดียวกัน)

ตัวอย่างเช่น

  1. ซื้อ PTTZ09 และ ขาย PTTEPZ09
  2. ขาย PTTEPM09 และ ซื้อ PTTM09

วัตถุประสงค์ในการใช้กลยุทธ์
นักลงทุนคาดว่าสินค้าอ้างอิงหนึ่งจะมีผลตอบแทนสูงกว่า (Outperform) สินค้าอ้างอิงอีกอันหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น นาย ก คาดว่า PTT น่าจะ Outperform PTTEP (คาดว่าส่วนต่างของผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จะเพิ่มขึ้น)

ดังนั้น นักลงทุนสามารถทำ Inter-Commodity Spread ได้โดย

  • ซื้อ PTTM09  ที่ราคา 164 บาท  จำนวน 7 สัญญา
    (มูลค่าสัญญาที่ซื้อเท่ากับ 164 x 7 x 1,000 = 1,148,000 บาท)
  • ขาย PTTEPM09 ที่ราคา 96 บาท จำนวน 12 สัญญา
    (มูลค่าสัญญาที่ขายเท่ากับ 96 x 12 x 1,000 = 1,152,700 บาท)

เมื่อต้องการปิดฐานะนักลงทุนสามารถทำได้โดย ขาย PTTM09 จำนวน 7 สัญญา และซื้อ PTTEPM09 จำนวน 12 สัญญา

ข้อควรทราบ

  1. การซื้อขายของกลยุทธ์นี้คือ ต้นทุนไป-กลับ จะสูงกว่าต้นทุนของการซื้อขายเก็งกำไรทิศทางปกติประมาณ 2 เท่า
  2. กลยุทธ์ Inter-Commodity Spread ไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วย Combination Order ได้

3. กลยุทธ์ Inter-Market Spread
องค์ประกอบของกลยุทธ์

  1. การซื้อ สัญญาฟิวเจอร์ส X สัญญา
  2. การขาย สัญญาฟิวเจอร์ส Y สัญญา (สินค้าอ้างอิงไม่ตรงกัน และมีประเภท Market ต่างกัน)

ตัวอย่างเช่น

  1. ซื้อ S50Z09 และ ขาย ADVANCZ09       
  2. ขาย PTTM09 และ ซื้อ S50M09

วัตถุประสงค์ในการใช้กลยุทธ์
นักลงทุนคาดว่าสินค้าอ้างอิงหนึ่งจะมีผลตอบแทนสูงกว่า (Outperform) สินค้าอ้างอิงอีกอันหนึ่ง ที่มีประเภท Market ต่างกัน

ตัวอย่างเช่น นาย ก คาดว่า ADVANC น่าจะ Outperform ดัชนี SET50 (คาดว่าส่วนต่างของผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จะเพิ่มขึ้น)

ดังนั้น นักลงทุนสามารถทำ Inter-Market Spread ได้โดย

  • ซื้อ S50U09  ที่ราคา 300.8 จุด จำนวน 1 สัญญา
    (มูลค่าสัญญาที่ซื้อเท่ากับ 300.8 x 1 x 1,000 = 300,800 บาท)
  • ขาย ADVANCU09 ที่ราคา 75.9 บาท จำนวน 4 สัญญา
    (มูลค่าสัญญาที่ขายเท่ากับ 75.9 x 4 x 1,000 = 303,600 บาท)

เมื่อต้องการปิดฐานะนักลงทุนสามารถทำได้โดย ขาย S50U09 จำนวน 1 สัญญา และซื้อ ADVANCM09 จำนวน 4 สัญญา

ข้อควรทราบ
ข้อควรระวังในการซื้อขายของกลยุทธ์นี้คือ ต้นทุนไป-กลับ จะสูงกว่าต้นทุนของการซื้อขายเก็งกำไรทิศทางปกติประมาณ 2 เท่า

กลยุทธ์อาร์บิทราจ (Arbitrage)
กลยุทธ์ Arbitrage เป็นกลยุทธ์ที่มีเป้าเหมายในการสร้างกำไรที่ปราศจากความเสี่ยง โดยการที่จะทำกลยุทธ์นี้ได้สำเร็จจะขึ้นอยู่กับการคำนวณหาราคาทฤษฎีที่ถูกต้อง เมื่อเราสามารถคำนวณราคาทฤษฎีได้แล้ว เรานำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาดของสินค้าอ้างอิงรวมกับต้นทุนการซื้อขายสุทธิ เราจะทราบว่าเมื่อไรเราสามารถทำ Arbitrage ได้ และได้กำไรประมาณเท่าไร

ราคาทฤษฎีของ Single Stock Futures

นักลงทุนสามารถคำนวณได้จากสูตร

 

FFair = [S – PV(Div.)] x (1+ R)Day/365

 

โดย

FFair                = ราคาทฤษฎีของ Single Stock Futures

S                   = ราคาตลาดของหุ้นอ้างอิง

PV(Div.)          = Present Value ของเงินปันผลที่มีวัน Ex-date อยู่ในอายุของสัญญา

R                   = อัตราดอกเบี้ยที่ปราศจากความเสี่ยง (%)

Day                = อายุคงเหลือของสัญญาเป็นจำนวนวัน

 

การตัดสินใจทำ Arbitrage

กำหนดให้ FMarket เป็นราคาตลาดของ Single Stock Futures นักลงทุนจะสามารถตัดสินใจทำ Arbitrage ได้จากปัจจัยต่อไปนี้

  1. ถ้า FMarket > F Fair + ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)
    ขาย Futures 1 สัญญา พร้อมกับ ซื้อ หุ้น 1,000 หุ้น
    และมีกำไรเท่ากับ FMarket –  F Fair - ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)
  2. ถ้า FMarket < F Fair  – ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)        
    ซื้อ Futures 1 สัญญา พร้อมกับ ขาย หุ้น 1,000 หุ้น
    และมีกำไรเท่ากับ F Fair– FMarket – ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)   

 

ข้อควรทราบ

จำนวนหุ้นที่จะซื้อขายในกลยุทธ์นี้จะเท่ากับขนาดของสัญญา (Multiplier) ดังนั้นนักลงทุนจะต้องสังเกตขนาดสัญญา (Multiplier) หลัง Ex-Date ดี ๆ

 

ตัวอย่างเช่น

นักลงทุนสามารถคำนวณ Fair Price ได้ดังนี้

 

 

ต้นทุนในการซื้อขายหุ้น (ไปกลับ) ประมาณ 0.60 บาท ต่อหุ้น

ต้นทุนในการซื้อขายฟิวเจอร์ส (ไปกลับ) ประมาณ 0.42 บาท ต่อหุ้น

ต้นทุนสุทธิ (โดยประมาณ) เท่ากับ  1.02 บาทต่อหุ้น

 

สมมุติให้

  • FUpper Bound = F Fair + ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)
  • FLower Bound = F Fair – ต้นทุนซื้อขายหุ้นและฟิวเจอร์ส (ไป-กลับ)

 

เราจึงสามารถคำนวณเพิ่มเติมได้ดังนี้


ดังนั้นถ้าราคาตลาดของ Single Stock Futures ต่ำกว่า FLower Bound นักลงทุนจะสามารถทำกลยุทธ์ Arbitrage โดย

  • ซื้อ Futures 1 สัญญา พร้อมกับ ขาย หุ้น 1,000 หุ้น
  • และมีกำไรเท่ากับ (FLower Bound – F Market) x 1,000 หุ้น

ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาตลาดของ Single Stock Futures สูงกว่า FLower Bound นักลงทุนจะสามารถทำกลยุทธ์ Arbitrage โดย

    • ขาย Futures 1 สัญญา พร้อมกับ ซื้อ หุ้น 1,000 หุ้น
    • และมีกำไรเท่ากับ (F Market – FUpper Bound) x 1,000 หุ้น

    ค่านายหน้าซื้อขายและค่าธรรมเนียม

    Single Stock Futures
    บริษัทฯ กำหนดค่านายหน้าสำหรับ Single Stock Futures (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการซื้อขายแบบปกติ (Offline) และการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) ดังนี้

    * ราคาสัญญา เป็นราคาเฉลี่ย 1 เดือนย้อนหลังซึ่งคำนวณโดย TFEX และ TCH
    มูลค่าสัญญาหมายถึงราคาซื้อขายคูณด้วยขนาดของสัญญา

      ตัวอย่างเช่น

    • นักลงทุนซื้อสัญญา BAYZ11 1 สัญญา ที่ราคา 27.00 บาท ผ่านการซื้อขายแบบปกติ (Offline) นักลงทุนต้องจ่ายค่านายหน้า (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่ากับ (27 x 1,000 x 0.10%) + 0.50 = 27.50 บาท
    • นักลงทุนซื้อสัญญา BAYZ11 1 สัญญา ที่ราคา 27.00 บาท ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) นักลงทุนต้องจ่ายค่านายหน้า (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่ากับ (27 x 1,000 x 0.09%) + 0.50 = 24.80 บาท
    • นักลงทุนซื้อสัญญา BANPUZ11 1 สัญญา ที่ราคา 700 บาท ผ่านการซื้อขายแบบปกติ (Offline) นักลงทุนต้องจ่ายค่านายหน้า (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่ากับ (700 x 1,000 x 0.10%) + 5 = 705 บาท
    • นักลงทุนซื้อสัญญา BANPUZ11 1 สัญญา ที่ราคา 700 บาท ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) นักลงทุนต้องจ่ายค่านายหน้า (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่ากับ (700 x 1,000 x 0.09%) + 5 = 635 บาท


 
 
Resource Center

© Copyright 2013. All Rights Reserved. Bualuang Securities Public Company Limited.
BLS Customer Service Tel. 02 618 1111
ติดต่อเรา คลิกที่นี่


ข้อตกลงและเงื่อนไข  |  Terms and Conditions