รู้จักกับ Silver Futures
Silver Futures ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ สัญญาฟิวเจอร์ส และโลหะเงิน เมื่อทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจึงกลายเป็น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีโลหะเงินเป็นสินค้าอ้างอิง
ลักษณะและข้อกำหนดของ Silver Futures
สำหรับ Silver Futures นั้น บมจ. ตลาดอนุพันธ์ได้กำหนดลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
สินค้าอ้างอิง
โลหะซึ่งเป็นสินค้าอ้างอิงของ Silver Futures คือโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 99.9%
ขนาดสัญญา
สัญญา Silver Futures มีขนาดของสัญญาเท่ากับโลหะเงิน 100 ทรอยเอานซ์
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุมี 6 เดือนได้แก่ กุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน สิงหาคม ตุลาคม และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 3 เดือนคู่ ทำให้ ตามปกติ สัญญา Silver Futures ที่มีการซื้อขายนั้นจะมีทั้งหมด 3 สัญญา เช่น ถ้าวันนี้เป็นวันที่ 2 ก.พ. 2554 สัญญา Silver Futures ที่มีการซื้อขายนั้นจะมีทั้งหมด 3 สัญญา และมีเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุดังนี้
- กุมภาพันธ์ 2554
- เมษายน 2554
- มิถุนายน 2554
อย่างไรก็ตาม ณ วันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาที่ใกล้สุด ตลาดอนุพันธ์จะนำสัญญาถัดไปเข้ามาซื้อขายทันที เช่น วันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาที่สิ้นสุดอายุเดือน กุมภาพันธ์ 2554 ตลาดอนุพันธ์จะนำสัญญาที่สิ้นสุดอายุเดือน สิงหาคม 2554 เข้ามาซื้อขายทันที
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำเท่ากับ 1 บาท หมายความว่าราคาของสัญญา Silver Futures ที่มีการซื้อขายกันนั้นจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายโดยระบุราคาได้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 บาท
- ตัวอย่างของราคาที่สามารถระบุได้มีดังนี้ 1,088 บาท 1,089 บาท และ 1,090 บาท เป็นต้น
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุดแต่ละวัน
ณ เริ่มต้นของแต่ละวัน ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาสูงสุดออกเป็น 10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า แต่ถ้าราคาซื้อขายของ Silver Futures สัมผัส 10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า ตลาดอนุพันธ์จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว แล้วจึงเปิดการซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาสูงสุดออกเป็น 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
เวลาซื้อขาย
มี 6 ช่วงเวลาดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อช่วงเวลา |
ช่วงเวลา |
1 |
Pre-open |
9:15 9:45 |
2 |
Morning session |
9:45 12:30 |
3 |
Pre-open |
14:00 14:30 |
4 |
Afternoon session |
14:30 16:55 |
5 |
Pre-open |
19:15 19:30 |
6 |
Night session |
19:30 22:30 |
วันซื้อขายวันสุดท้าย
วันซื้อขายวันสุดท้ายของทุกสัญญานั้นเป็นวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยตัวอย่างของวันซื้อขายวันสุดท้ายมีดังนี้
เดือนและ ค.ศ. ที่สัญญาหมดอายุ |
วันซื้อขายวันสุดท้าย |
กุมภาพันธ์ 2011 |
25 ก.พ. 2554 |
เมษายน 2011 |
28 เม.ย. 2554 |
มิถุนายน 2011 |
29 มิ.ย. 2554 |
สิงหาคม 2011 |
30 ส.ค. 2554 |
ตุลาคม 2011 |
28 ต.ค. 2554 |
ธันวาคม 2011 |
29 ธ.ค. 2554 |
นอกจากนั้น ในวันซื้อขายสุดท้ายของแต่ละสัญญา สัญญานั้นจะมีการซื้อขายสิ้นสุดในเวลา 16.30 น.
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายสุดท้าย
ใช้ราคา London Silver Fixing เป็นราคาอ้างอิงในการคำนวณ Final Settlement Price โดยปรับสกุลเงิน USD เป็นบาท หรือสามารถสรุปเป็นสูตรดังนี้

วิธีส่งมอบ / ชำระราคา
ในการซื้อขาย Silver Futures เป็นการส่งมอบเฉพาะกำไร/ขาดทุน จึงมีการชำระราคาเป็นเงินสดเท่านั้น (Cash Settlement)
อักษรย่อและสัญลักษณ์
Single Order
การใช้อักษรย่อสำหรับสัญญาฟิวเจอร์สแบบ Single Order ประกอบด้วย 3 ส่วนดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 |
ส่วนที่ 2 |
ส่วนที่ 3 |
SV |
Z |
11 |
ส่วนที่ 1 : สินค้าอ้างอิง
เนื่องจากสินค้าอ้างอิงของ Silver Futures มีคือโลหะเงิน ในส่วนที่ 1 นี้จึงใช้ SV แทนโลหะเงิน
ส่วนที่ 2 : เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ใช้อักษรย่อหนึ่งตัวแทนชื่อเดือนดังนี้
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ |
อักษรย่อ |
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ |
อักษรย่อ |
กุมภาพันธ์ |
G |
สิงหาคม |
Q |
เมษายน |
J |
ตุลาคม |
V |
มิถุนายน |
M |
ธันวาคม |
Z |
ส่วนที่ 3 : ปีที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ใช้ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายตามปี ค.ศ. เช่น ค.ศ. 2011 ใช้ตัวย่อเป็น 11 และ ค.ศ. 2012 ใช้ตัวย่อเป็น 12 เป็นต้น
ตัวอย่างอักษรย่อสำหรับสัญญา Silver Futures แบบ Single Order

Combination Order
การใช้อักษรย่อสำหรับสัญญาฟิวเจอร์สแบบ Combination Order ประกอบด้วย 5 ส่วนดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 |
ส่วนที่ 2 |
ส่วนที่ 3 |
ส่วนที่ 4 |
ส่วนที่ 5 |
SV |
V |
11 |
Z |
11 |
ส่วนที่ 1 : สินค้าอ้างอิง
เนื่องจากสินค้าอ้างอิงของ Silver Futures มีเพียงโลหะเงินท่านั้น ในส่วนที่ 1 นี้จึงใช้ SV แทนโลหะเงิน
ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 4 : เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ใช้อักษรย่อหนึ่งตัวแทนชื่อเดือนดังนี้
เดือนที่สัญญาสิ้นสุด |
อักษรย่อ |
เดือนที่สัญญาสิ้นสุด |
อักษรย่อ |
กุมภาพันธ์ |
G |
สิงหาคม |
Q |
เมษายน |
J |
ตุลาคม |
V |
มิถุนายน |
M |
ธันวาคม |
Z |
ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 5 : ปีที่สัญญาสิ้นสุดอายุ
ใช้ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายตามปี ค.ศ. เช่น ค.ศ. 2011 ใช้ตัวย่อเป็น 11 และ ค.ศ. 2012 ใช้ตัวย่อเป็น 12 เป็นต้น
ตัวอย่างการซื้อขายสัญญาด้วย Combination Order
- ในกรณีที่นักลงทุนส่งคำสั่ง ซื้อ SVV11Z11 ที่ราคา 10 บาท หมายความว่า นักลงทุนต้องการซื้อ SVZ11 และขาย SVV11 พร้อมกัน โดยราคาของ SVZ11 ลบด้วย ราคาของ SVV11 ต้องไม่สูงกว่า 10 บาท
- ในกรณีที่นักลงทุนส่งคำสั่ง ขาย SVM11Q11 ที่ราคา 20 บาท หมายความว่า นักลงทุนต้องการขาย SVQ11 และซื้อ SVM11 พร้อมกัน โดยราคาของ SVQ11 ลบด้วย ราคาของ SVM11 ต้องไม่ต่ำกว่า 20 บาท
ตัวอย่างอักษรย่อสำหรับสัญญา Silver Futures แบบ Combination Order
SVG11J11 |
SVG11M11 |
SVJ11M11 |
SVJ11Q11 |
SVM11Q11 |
SVM11V11 |
SVQ11V11 |
SVQ11Z11 |
SVV11Z11 |
SVV11G10 |
SVZ11G10 |
SVZ11J10 |
การหยุดการซื้อขาย (Circuit Breaker)
ณ เวลาเริ่มซื้อขายของแต่ละวัน ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ราคาสูงสุดในวันทำการซื้อขาย (Ceiling Price) ไม่เกิน +10% และราคาต่ำสุด (Floor Price) ไม่ต่ำกว่า -10% จากราคาเพื่อการชำระราคา (Daily Settlement Price) ของวันทำการก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้มี Circuit Breaker โดยถ้าราคาซื้อขายของ Silver Futures สัมผัส +/-10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า ตลาดอนุพันธ์จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว แล้วจึงเปิดการซื้อขายอีกครั้งพร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาสูงสุดออกเป็น +/- 20% ของราคาที่ใช้ชำระราคาในวันทำการก่อนหน้า
กรณี Combination Order ตลาดอนุพันธ์กำหนดราคาสูงสุดต่ำสุดในแต่ละวันโดยใช้ Daily Settlement Price ล่าสุดของเดือนไกล ลบด้วยเดือนใกล้ (Far - Near) +200 บาท เป็นราคาสูงสุด และ 200 บาท เป็นราคาต่ำสุดของ series คู่นั้นๆ
การถือครองฐานะจนสิ้นสุดอายุสัญญา
สัญญา Silver Futures ที่ถูกถือครองจนครบอายุจะถูก Mark-to-Market ณ สิ้นวันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญารุ่นนั้นๆเป็นการชำระราคาครั้งสุดท้าย นักลงทุนผู้ถือครองจะได้ส่วนต่างระหว่างต้นทุนสุดท้ายที่ถืออยู่กับราคาเพื่อการชำระราคาครั้งสุดท้าย (Final Settlement Price) ถือเป็นการปิดฐานะสัญญาไปโดยอัตโนมัติ
นักลงทุนมีภาระในการชำระค่านายหน้าซื้อขายจากการชำระราคาครั้งสุดท้ายนี้ด้วย
ค่านายหน้าซื้อขายและค่าธรรมเนียม
Silver Futures
ค่านายหน้าสำหรับ Silver Futures กำหนดเป็นแบบขั้นบันไดตั้งแต่สัญญาแรก (Sliding Scale First Contract) ตามจำนวนสัญญาต่อวัน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการซื้อขายแบบปกติ (Offline) และการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet Trading) ดังนี้
ตัวอย่างเช่น
- นักลงทุนซื้อขายสัญญา SVQ11 20 สัญญาต่อวันโดยผ่านการซื้อขายระบบอินเตอร์เน็ต จะต้องจ่ายค่านายหน้า = 86 x 20= 1,720 บาท*
- นักลงทุนซื้อขายสัญญา SVQ11 100 สัญญาต่อวันโดยผ่านการซื้อขายแบบปกติ จะต้องจ่ายค่านายหน้า = 75 x 100= 7,500 บาท*
*อัตรานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
|